ครูจะต้องมีคุณสมบัติ
1. ความมีระเบียบวินัย หมายถึง ความประพฤติ ทั้งทางกายและวาจาและใจ ที่แสดงถึงความเคารพในกฎหมาย ระเบียบประเพณีของสังคม และความประพฤติที่สอดคล้องกับอุดมคติหรือความหวังของตนเอง โดยให้ยึดส่วนรวมสำคัญกว่าส่วนตัว
2. ความซื่อสัตย์สุจริตและความยุติธรรม หมายถึง การประพฤติที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ไม่เอาเปรียบ หรือคดโกงผู้อื่นหรือส่วนรวม ให้ยึดถือหลักเหตุผล ระเบียบแบบแผนและกฎหมายของสังคมเป็นเกณฑ์
3. ความขยัน ประหยัด และยึดมั่นในสัมมาอาชีพ หมายถึง ความประพฤติที่ไม่ทำให้เสียเวลาชีวิตและปฏิบัติกิจอันควรกระทำให้เกิดประโยชน์แก่ตนและสังคม
4. ความสำนึกในหน้าที่และการงานต่าง ๆ รวมไปถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ หมายถึง ความประพฤติที่ไม่เอารัดเอาเปรียบสังคมและไม่ก่อความเสียหายให้เกิดขึ้นแก่สังคม
5. ความเป็นผู้มีความคิดริเริ่ม วิจารณ์และตัดสินอย่างมีเหตุผล หมายถึง ความประพฤติในลักษณะสร้างสรรค์และปรับปรุงมีเหตุมีผลในการทำหน้าที่การงาน
6. ความกระตือรือร้นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีความรักและเทิดทูน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หมายถึง ความประพฤติที่สนับสนุนและให้ความร่วมมือ ในการอยู่ร่วมกันโดยยึดผลประโยชน์ของสังคมให้มากที่สุด
7. ความเป็นผู้มีพลานามัยที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ หมายถึง ความมั่นคงและจิตใจ รู้จักบำรุงรักษากายและจิตใจให้สมบูรณ์ มีอารมณ์แจ่มใสมีธรรมะอยู่ในจิตใจอย่างมั่นคง
8. ความสามารถในการพึ่งพาตนเองและมีอุดมคติเป็นที่พึ่ง ไม่ไว้วานหรือขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นโดยไม่จำเป็น
9. ความภาคภูมิและการรู้จักทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม และทรัพยากรของชาติ หมายถึง ความประพฤติที่แสดงออกซึ่งศิลปะและวัฒนธรรมแบบไทย ๆ มีความรักและหวงแหนวัฒนธรรมของตนเองและทรัพยากรของชาติ
10. ความเสียสละ และเมตตาอารี กตัญญูกตเวที กล้าหาญ และความสามัคคีกัน หมายถึง ความประพฤติที่แสดงออกถึงความแบ่งปัน เกื้อกูลผู้อื่น ในเรื่องของเวลากำลังกายและกำลังทรัพย์
การเป็นครูที่ "ดี" นั้น ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติต่าง
1. ปรับปรุงการเรียนการสอนให้ทันสมัยและเหมาะสมอยู่เสมอ
2. มีความปรารถนาที่จะช่วยเหลือผู้เรียนให้ประสบความสำเร็จในทุกด้าน
3. มีบุคลิกภาพที่ดี
4. มีความรู้ความชำนาญในงานที่สอน
5. มีความอดทน
6. มีลักษณะซึ่งผู้เรียนให้ความไว้วางใจ
7. มีความกระตือรือร้นในการถ่ายทอดความร ู้
8. มีความจริงใจ
9. มีลักษณะเป็นผู้นำ
คุณสมบัติแรกที่ผู้เรียนทุกระดับขั้นมักจะให้ความสำคัญคือ "ความสามารถในการสอน" หรือเทคนิคในการสอนนั้นเอง ทั้งนี้ผู้ปฏิบัติจะต้องทุ่มเทหัวใจให้กับงานทั้งหมด และตระหนักว่าผลของความสำเร็จจะไม่เป็นตามกฎเกณฑ์ หรือ
ทฤษฎีที่ตั้งไว้ ลักษณะการสอนในแนวความคิดนี้จะไม่ยึดกฎเกณฑ์เป็นหลักตายตัว แต่จะต้องอาศัยความยึดหยุ่น คือ
สามารถทำสิ่งที่ถูกต้องในเวลาที่เหมาะสม เช่น สามารถใช้วิธีสอนได้เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละคนที่มีความแตกต่างกัน
การสอนจะประสบความสำเร็จต้องอาศัยหลักทฤษฎีซึ่งมีผลจากการทดลองวิจัยมาเป็นตัวสนับสนุนการสอนที่ดีมิใช่
ศิลปะหรือเป็น "พรสวรรค์" ที่เกิดขึ้นเฉพาะตัวบุคคลบางคน แต่การสอนที่ดีเป็นผลมาจากการฝึกอย่างเชี่ยวชาญ ซึ่ง
สามารถเกิดขึ้นกับทุกคนได้
ทั้งนี้เพราะข้อมูลทางด้านศิลปะจะทำให้เกิด "ใจรัก" ส่วนข้อมูลทางวิทยาศาสตร์จะทำให้เกิด "ความเชี่ยวชาญ" คือมี
ความรู้ และมีใจรักในการถ่ายทอดความรู้ก็จะเป็นครูผู้นั้นมีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน และมีความรู้ในหลัก"จิตวิทยาการศึกษา" โดยอาศัยเนื้อหาต่าง ๆ ที่อธิบายไว้ในบทต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง
ในสังคมไทยการพัฒนาเพื่อเป็นครูที่ดีนั้นสามารถใช้หลักปฏิบัติทาง พุทธศาสนาได้อย่างดียิ่ง ตัวอย่างเช่น หลักอิทธิ
บาท 4 ซึ่งประกอบด้วย
1.ฉันทะ คือ ความพอใจในสิ่งนั้น ในที่นี้หมายถึงความพึงพอใจในอาชีพครูซึ่งเมื่อมีความพอใจเป็น
อันดับแรกแล้วจะทำให้ง่ายต่อการพัฒนา
2.วิริยะ คือ ความเพียรพยายาม เมื่อครูพึงพอใจ สนใจ เอาใจใส่ต่ออาชีพของตนเองแล้ว
3.จิตตะ คือ ความตั้งใจจริง เอาใจใส่ฝึกฝน เพื่อเป้าหมายในการเป็นครูที่ดีดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
ว่าการเป็นครูที่ดีนั้นสามารถฝึกฝนได้ ถ้ามีความตั้งใจจริง แหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่จะใช้เพื่อเป็นแนว
ทางมีมากมาย
4.วิมังสา คือ ความหมั่นติตรอง พิจารณา เหตุผลในสิ่งนั้น ใน ขั้นนี้ถือเป็นขั้นสำคัญเพราะข้อมูล
ต่างๆ ที่ได้มามากมายจะไม่มีประโยชน์อะไร ถ้าปราศจากการคิดพิจารณาไตร่ตรองเพื่อนำมาใช้ให้
เกิดประโยชน์ พร้อมทั้งสามารถนำข้อมูลต่าง ๆ เหล่านั้นมาดัดแปลงใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล และสถาบันการศึกษาที่มีสภาพแวดล้อมแตกต่างกันมากมาย
1. พัฒนาการรู้จักตนเอง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าครูมีความเข้าใจและยอมรับตนเองแล้ว ก็จะเกิดความเข้าใจและ
ยอมรับผู้อื่นได้ง่ายยิ่งขึ้น
2. ค้นหาทางเลือกใหม่ๆ ในการสอน ถ้าพบว่า วิธีการต่าง ๆ ที่ เป็นที่นิยมใช้กันนั้นไม่เหมาะสมกับตนเอง ครูควร
จะค้นหาวิธีใหม่ ๆ มาใช้ ให้เหมาะกับตนเอง
3. หมั่นตรวจสอบ สิ่งที่ตนเองไม่พึงพอใจ
4. ประเมินภาระงานใหม่ ทั้งหมดโดยพยายามขจัดหรือลดภาระงานที่มากเกินไปที่ทำให้เกิดความเครียด
5.ขอคำแนะนำจากผู้อื่นเช่น เพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน หรือผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์และมุมมองในการแก้ ปัญหาที่แตกต่างกันออกไป
6. แสวงหาประสบการณ์ใหม่ที่นอกเหนือจากการสอน เช่น หางานอดิเรกทำ ทำงานพิเศษช่วงฤดูร้อน เข้ารับการ
สัมมนาในหัวข้อที่สนใจ เป็นต้น
7. แสวงหาความพึงพอใจจากที่อื่น ๆ เมื่อรู้สึกว่าบรรยากาศในห้องเรียนไม่เอื้อต่อความสุขของตนเอง เช่น การรับเชิญ
ไปเป็นวิทยากรพิเศษ หรือการรับเชิญไปสอนพิเศษตามสถาบันต่าง ๆ เป็นต้น
8. พูดคุยกับผู้อื่นเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ของตนเอง ซึ่งจะเป็นการระบายความเครียดได้
9. ออกกำลังกายเมื่อเกิดความเครียด ทั้งนี้จะได้ประโยชน์โดยการผ่อนคลาย
10.โปรดอย่านำความเครียดมาระบายในชั้นเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอย่านำความเครียดมาระบายกับผู้เรียน
11.ถ้าท่านมีความเครียดมาก จนไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเองโปรดขอคำแนะนำจากจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
จะทำให้เกิดกับตัวนักศึกษาได้อย่างไร
1 ปฏิบัติตาม
2 ทำให้เป็นนิสัย
1. ความมีระเบียบวินัย หมายถึง ความประพฤติ ทั้งทางกายและวาจาและใจ ที่แสดงถึงความเคารพในกฎหมาย ระเบียบประเพณีของสังคม และความประพฤติที่สอดคล้องกับอุดมคติหรือความหวังของตนเอง โดยให้ยึดส่วนรวมสำคัญกว่าส่วนตัว
2. ความซื่อสัตย์สุจริตและความยุติธรรม หมายถึง การประพฤติที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ไม่เอาเปรียบ หรือคดโกงผู้อื่นหรือส่วนรวม ให้ยึดถือหลักเหตุผล ระเบียบแบบแผนและกฎหมายของสังคมเป็นเกณฑ์
3. ความขยัน ประหยัด และยึดมั่นในสัมมาอาชีพ หมายถึง ความประพฤติที่ไม่ทำให้เสียเวลาชีวิตและปฏิบัติกิจอันควรกระทำให้เกิดประโยชน์แก่ตนและสังคม
4. ความสำนึกในหน้าที่และการงานต่าง ๆ รวมไปถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ หมายถึง ความประพฤติที่ไม่เอารัดเอาเปรียบสังคมและไม่ก่อความเสียหายให้เกิดขึ้นแก่สังคม
5. ความเป็นผู้มีความคิดริเริ่ม วิจารณ์และตัดสินอย่างมีเหตุผล หมายถึง ความประพฤติในลักษณะสร้างสรรค์และปรับปรุงมีเหตุมีผลในการทำหน้าที่การงาน
6. ความกระตือรือร้นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีความรักและเทิดทูน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หมายถึง ความประพฤติที่สนับสนุนและให้ความร่วมมือ ในการอยู่ร่วมกันโดยยึดผลประโยชน์ของสังคมให้มากที่สุด
7. ความเป็นผู้มีพลานามัยที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ หมายถึง ความมั่นคงและจิตใจ รู้จักบำรุงรักษากายและจิตใจให้สมบูรณ์ มีอารมณ์แจ่มใสมีธรรมะอยู่ในจิตใจอย่างมั่นคง
8. ความสามารถในการพึ่งพาตนเองและมีอุดมคติเป็นที่พึ่ง ไม่ไว้วานหรือขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นโดยไม่จำเป็น
9. ความภาคภูมิและการรู้จักทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม และทรัพยากรของชาติ หมายถึง ความประพฤติที่แสดงออกซึ่งศิลปะและวัฒนธรรมแบบไทย ๆ มีความรักและหวงแหนวัฒนธรรมของตนเองและทรัพยากรของชาติ
10. ความเสียสละ และเมตตาอารี กตัญญูกตเวที กล้าหาญ และความสามัคคีกัน หมายถึง ความประพฤติที่แสดงออกถึงความแบ่งปัน เกื้อกูลผู้อื่น ในเรื่องของเวลากำลังกายและกำลังทรัพย์
การเป็นครูที่ "ดี" นั้น ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติต่าง
1. ปรับปรุงการเรียนการสอนให้ทันสมัยและเหมาะสมอยู่เสมอ
2. มีความปรารถนาที่จะช่วยเหลือผู้เรียนให้ประสบความสำเร็จในทุกด้าน
3. มีบุคลิกภาพที่ดี
4. มีความรู้ความชำนาญในงานที่สอน
5. มีความอดทน
6. มีลักษณะซึ่งผู้เรียนให้ความไว้วางใจ
7. มีความกระตือรือร้นในการถ่ายทอดความร ู้
8. มีความจริงใจ
9. มีลักษณะเป็นผู้นำ
คุณสมบัติแรกที่ผู้เรียนทุกระดับขั้นมักจะให้ความสำคัญคือ "ความสามารถในการสอน" หรือเทคนิคในการสอนนั้นเอง ทั้งนี้ผู้ปฏิบัติจะต้องทุ่มเทหัวใจให้กับงานทั้งหมด และตระหนักว่าผลของความสำเร็จจะไม่เป็นตามกฎเกณฑ์ หรือ
ทฤษฎีที่ตั้งไว้ ลักษณะการสอนในแนวความคิดนี้จะไม่ยึดกฎเกณฑ์เป็นหลักตายตัว แต่จะต้องอาศัยความยึดหยุ่น คือ
สามารถทำสิ่งที่ถูกต้องในเวลาที่เหมาะสม เช่น สามารถใช้วิธีสอนได้เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละคนที่มีความแตกต่างกัน
การสอนจะประสบความสำเร็จต้องอาศัยหลักทฤษฎีซึ่งมีผลจากการทดลองวิจัยมาเป็นตัวสนับสนุนการสอนที่ดีมิใช่
ศิลปะหรือเป็น "พรสวรรค์" ที่เกิดขึ้นเฉพาะตัวบุคคลบางคน แต่การสอนที่ดีเป็นผลมาจากการฝึกอย่างเชี่ยวชาญ ซึ่ง
สามารถเกิดขึ้นกับทุกคนได้
ทั้งนี้เพราะข้อมูลทางด้านศิลปะจะทำให้เกิด "ใจรัก" ส่วนข้อมูลทางวิทยาศาสตร์จะทำให้เกิด "ความเชี่ยวชาญ" คือมี
ความรู้ และมีใจรักในการถ่ายทอดความรู้ก็จะเป็นครูผู้นั้นมีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน และมีความรู้ในหลัก"จิตวิทยาการศึกษา" โดยอาศัยเนื้อหาต่าง ๆ ที่อธิบายไว้ในบทต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง
ในสังคมไทยการพัฒนาเพื่อเป็นครูที่ดีนั้นสามารถใช้หลักปฏิบัติทาง พุทธศาสนาได้อย่างดียิ่ง ตัวอย่างเช่น หลักอิทธิ
บาท 4 ซึ่งประกอบด้วย
1.ฉันทะ คือ ความพอใจในสิ่งนั้น ในที่นี้หมายถึงความพึงพอใจในอาชีพครูซึ่งเมื่อมีความพอใจเป็น
อันดับแรกแล้วจะทำให้ง่ายต่อการพัฒนา
2.วิริยะ คือ ความเพียรพยายาม เมื่อครูพึงพอใจ สนใจ เอาใจใส่ต่ออาชีพของตนเองแล้ว
3.จิตตะ คือ ความตั้งใจจริง เอาใจใส่ฝึกฝน เพื่อเป้าหมายในการเป็นครูที่ดีดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
ว่าการเป็นครูที่ดีนั้นสามารถฝึกฝนได้ ถ้ามีความตั้งใจจริง แหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่จะใช้เพื่อเป็นแนว
ทางมีมากมาย
4.วิมังสา คือ ความหมั่นติตรอง พิจารณา เหตุผลในสิ่งนั้น ใน ขั้นนี้ถือเป็นขั้นสำคัญเพราะข้อมูล
ต่างๆ ที่ได้มามากมายจะไม่มีประโยชน์อะไร ถ้าปราศจากการคิดพิจารณาไตร่ตรองเพื่อนำมาใช้ให้
เกิดประโยชน์ พร้อมทั้งสามารถนำข้อมูลต่าง ๆ เหล่านั้นมาดัดแปลงใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล และสถาบันการศึกษาที่มีสภาพแวดล้อมแตกต่างกันมากมาย
1. พัฒนาการรู้จักตนเอง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าครูมีความเข้าใจและยอมรับตนเองแล้ว ก็จะเกิดความเข้าใจและ
ยอมรับผู้อื่นได้ง่ายยิ่งขึ้น
2. ค้นหาทางเลือกใหม่ๆ ในการสอน ถ้าพบว่า วิธีการต่าง ๆ ที่ เป็นที่นิยมใช้กันนั้นไม่เหมาะสมกับตนเอง ครูควร
จะค้นหาวิธีใหม่ ๆ มาใช้ ให้เหมาะกับตนเอง
3. หมั่นตรวจสอบ สิ่งที่ตนเองไม่พึงพอใจ
4. ประเมินภาระงานใหม่ ทั้งหมดโดยพยายามขจัดหรือลดภาระงานที่มากเกินไปที่ทำให้เกิดความเครียด
5.ขอคำแนะนำจากผู้อื่นเช่น เพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน หรือผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์และมุมมองในการแก้ ปัญหาที่แตกต่างกันออกไป
6. แสวงหาประสบการณ์ใหม่ที่นอกเหนือจากการสอน เช่น หางานอดิเรกทำ ทำงานพิเศษช่วงฤดูร้อน เข้ารับการ
สัมมนาในหัวข้อที่สนใจ เป็นต้น
7. แสวงหาความพึงพอใจจากที่อื่น ๆ เมื่อรู้สึกว่าบรรยากาศในห้องเรียนไม่เอื้อต่อความสุขของตนเอง เช่น การรับเชิญ
ไปเป็นวิทยากรพิเศษ หรือการรับเชิญไปสอนพิเศษตามสถาบันต่าง ๆ เป็นต้น
8. พูดคุยกับผู้อื่นเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ของตนเอง ซึ่งจะเป็นการระบายความเครียดได้
9. ออกกำลังกายเมื่อเกิดความเครียด ทั้งนี้จะได้ประโยชน์โดยการผ่อนคลาย
10.โปรดอย่านำความเครียดมาระบายในชั้นเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอย่านำความเครียดมาระบายกับผู้เรียน
11.ถ้าท่านมีความเครียดมาก จนไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเองโปรดขอคำแนะนำจากจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
จะทำให้เกิดกับตัวนักศึกษาได้อย่างไร
1 ปฏิบัติตาม
2 ทำให้เป็นนิสัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น