วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 11

การกำหนดมาตรฐานคุณภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ครูจะต้องทำกิจกรรม 7 อย่างคือ
1)  การวิเคราะห์หลักสูตร
2)  การวิเคราะห์ผู้เรียน
3)  การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย
4)  การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน
5)  การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ
 6) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปีรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ 
 7)  การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน
      จากประเด็นดังกล่าว นักศึกษาจะนำวิธีดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียน    
            การจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมี  ความรู้คู่คุณธรรม  ผู้เรียนมีคุณธรรม  จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์    สังเคราะห์  และมีวิสัยทัศน์ที่ดีกว้างไกล  ดังนั้นการจัดการศึกษาจึงมีความจำเป็นและเป็นหน้าที่ที่สำคัญของโรงเรียนที่ต้องจัดการศึกษามีการส่งเสริม  และสนับสนุนให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  และมาตรฐานด้านปัจจัยกำหนดให้ครูมีความสามารถในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด๑.เป็นกระบวนการที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองและมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนและรู้จักรับผิดชอบ
หลักการที่สำคัญในการจัดการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  มีดังนี้

ด้วยตนเอง
.มีการเรียนรู้  หรือศึกษาการเรียนรู้ได้จากแหล่งต่าง ๆ  มากมายไม่ใช่ศึกษาหาความรู้จากแหล่งเดียว  หรือเพียงใน
ห้องเรียนเท่านั้น
.เป็นการจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ค้นพบด้วยตนเอง
.เป็นกระบวนการที่มีส่วนช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี
.เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญต่อการเรียนของผู้เรียน
.ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับชีวิตจริงของแต่ละบุคคลจากหลักการดังกล่าวจะนำไปสู่การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมและเป็นผุ้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองอย่างมีความสุขโดยครูผู้สอนต้องลดบทบาทและปรับเปลี่ยนกระบวนการของตนจากการเป็นผู้บอกความรู้ให้แก่ผู้เรียนมาเป็นผู้สนับสนุน  ผู้ชี้แนะ  ที่ปรึกษาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนมากที่สุดตามศักยภาพของแต่ละบุคคล จัดประสบการณ์ที่กระตุ้นให้ผู้เรียนใฝ่รู้  ใฝ่เรียน  ค้นพบคำตอบด้วยตนเอง  โดยมีครูและนักเรียนร่วมกันบอกแหล่งความรู้

แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระภาษาไทย  ช่วงชั้นที่ ชั้นประถมศึกษาปีที่  3  ภาคเรียนที่  1  สัปดาห์  4
กลุ่มสาระเรื่อง การเขียน      เรื่องย่อย กระต่ายน้อยน่ารัก      เวลา  2  ชั่วโมง


              1.  สาระการเรียนรู้
สามารถจดบันทึกเรื่องกระต่ายน่ารักได้
2.  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง / เนื้อหา
นำความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องมาจดบันทึกลงในสมุดโดยเขียน
อธิบายและวาดภาพประกอบได้สวยงาม
3. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ขั้นนำ  (  เวลา  10  นาที  )
ครูให้นักเรียนดูภาพกระต่ายพร้อมทั้งเล่าเรื่องที่ครูเคยพบเห็นมาให้นักเรียนฟัง
ขั้นจัดกิจกรรม  (  เวลา  50  นาที  )

1.  ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ 3 – 4 คนโดยให้นักเรียนอ่านเรื่องกระต่ายน้อยน่ารัก
     พร้อมทั้ง
2.  ครูแจกใบงานเรื่องกระต่ายน้อยน่ารักแล้วให้แต่ละกลุ่มบันทึกความรู้เกี่ยวกับกระต่าย
    ตามหัวข้อที่กำหนดพร้อมทั้งวาดภาพประกอบ
3.  ครูสุ่มนักเรียนแต่ละกลุ่มออกมารายงานเรื่องกระต่ายน้อยน่ารักแล้วให้  ข้อคิดที่ได้จาก
                          เรื่องโดยมีครูเป็นผู้ชี้แนะ
                    ขั้นสรุป  (  เวลา  10  นาที  )
                          -  ตัวแทนนักเรียนออกมาสรุปบทเรียนเรื่อง  กระต่ายน้อยน่ารัก พร้อมบอกข้อคิดที่ได้
                            จากเรื่องให้เพื่อนฟัง
                  4. เครื่องมือวัดผลประเมินผล
                          -  สังเกตการตอบคำถาม
                          -  แบบฝึกหัดหลังเรียน
                    5.  กระบวนการวัดและประเมินผล
                          -  สังเกตการตอบคำถาม  -  การรายงานหน้าชั้น    -  การทำงานกลุ่ม
                    6.  แหล่งการเรียนรู้
                          -  เอกสารประกอบการเรียน
                    7.  สื่อการสอน
                          -  ภาพกระต่าย
                    8.  บันทึกผลหลังการสอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น