วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 3

ให้นักศึกษาไปศึกษาผู้นำทางวิชาการจากเอกสาร, Internet, การสัมภาษณ์ ในประเด็นดังนี้
1. ประวัติของผู้นำทางวิชาการที่สำคัญ
2. ผลงานของนักวิชาการที่ปรากฏ
3. เราชอบผู้นำทางวิชาการในประเด็นอะไร
4. มีรูปถ่ายสถานที่ประกอบ









1. ประวัติของผู้นำทางวิชาการที่สำคัญ

          พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ชื่อเดิมว่า "พจน์ พหลโยธิน" เกิดเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2430 เวลา 03.30 น. ณ บ้านหน้าวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา (ถิ่น พหลโยธิน) กับคุณหญิงจับ สมรสกับท่านผู้หญิงบุญหลง พหลพลพยุหเสนา
        เริ่มการศึกษาชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดจักรวรรดิราชาวาส (วัดสามปลื้ม) และย้ายไปศึกษาต่อที่โรงเรียนสุขุมาลวิทยาลัย จนกระทั่งเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก ต่อมาเมื่ออายุ 16 ปี ได้รับทุนรัฐบาลไปศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกในเมืองโกรสลิสเตอร์ เฟล เด ประเทศเยอรมันนี ศึกษาอยู่ 3 ปีต่อจากนั้นได้เข้าประจำอยู่ในกองทัพบกเยอรมัน สังกัดกรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 ในปี พ.ศ. 2455 ได้เดินทางไปศึกษาต่อวิชาช่างแสงที่ประเทศเดนมาร์กเรียนได้ปีเดียวก็ถูกเรียกตัวกลับเนื่องจากเงินทุนการศึกษาไม่เพียงพอ
        พระยาพหลพลพยุหเสนาเข้ารับราชการครั้งแรกประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 จังหวัดราชบุรี อีกสามปีต่อมาได้เข้าประจำกรมทหารปืนใหญ่ บางซื่อ พระนคร และในปี พ.ศ. 2460 ได้ย้ายไปเป็นผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 9 จังหวัดฉะเชิงเทรา ในชีวิตราชการนั้นได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงและพระตามลำดับในราชทินนามเดียวกันว่า "สรายุทธสรสิทธิ์" และได้เลื่อนยศทางทหารมาตามลำดับ กระทั่งได้เป็น พันเอก เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2471
        เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2471มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นองครักษ์เวร และเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2474 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาพหลพลพยุหเสนา มีราชทินนามเดียวกับบิดา
        เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ได้ร่วมกับคณะราษฎรโดยเป็นหัวหน้าคณะราษฎรทำการยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด
        พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2476 โดยการทำรัฐประหารรัฐบาลของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ตลอดระยะเวลาที่บริหารประเทศ ต้องเผชิญปัญหานานัปการ จนต้องลาออกจากตำแหน่งหลายครั้ง และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้กลับเข้ามาดำรงตำแหน่งใหม่ ในที่สุดเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2481 พระยาพหลพลพยุหเสนาได้ตัดสินใจยุบสภาและลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ถึงแม้พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาจะวางมือจากตำแหน่งสูงสุดทางการเมืองแล้ว ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2ท่านได้ดำรงตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ และได้รับยศ พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา
        พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนาถึงแก่อสัญกรรมด้วยเส้นโลหิตในสมองแตกเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2490 รวมอายุ ได้ 60 ปี

2. ผลงานของนักวิชาการที่ปรากฏ
 การทำงาน-การเมือง
          พ.ศ. 2453 ประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 ประเทศเยอรมนี
          พ.ศ. 2457 ประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 จังหวัดราชบุรี
          พ.ศ. 2458 ผู้บังคับการกองร้อยที่ 2 กรมทหารปืนใหญ่ บางซื่อ พระนคร
          พ.ศ. 2460 ผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 9 จังหวัดฉะเชิงเทรา
          พ.ศ. 2461 ผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 2
          พ.ศ. 2469 ผู้อำนวยการแผนกโรงเรียนทหารปืนใหญ่ จ.ลพบุรี
          ในชีวิตราชการนั้นได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงและพระตามลำดับในราชทินนามเดียวกันว่า "สรายุทธ  สรสิทธิ์"
          วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2471 ได้เลื่อนยศทางทหารเป็น พันเอก
          วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2471 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นองครักษ์เวร
          พ.ศ. 2473 จเรทหารปืนใหญ่
          วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาพหลพลพยุหเสนา มีราชทินนามเดียวกับบิดา
          พ.ศ. 2475 ผู้บัญชาการทหารบก
          พ.ศ. 2487 แม่ทัพใหญ่มีอำนาจสิทธิ์ขาด บังคับบัญชาแม่ทัพบก แม่ทัพเรือ แม่ทัพอากาศ และตำรวจสนามตามกฏอัยการศึก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น